ถึงเวลาอาหารเด็ก โต๊-โต

เมื่อลูกน้อยอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถป้อนอาหารที่มีความแตกต่างและหลากหลายมากขึ้นรวมทั้งมีรสชาติ และผิวสัมผัสที่ไม่เหมือนอาหารเหลวแบบก่อนหน้านี้ได้แล้วค่ะ แต่อย่าลืมว่า โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับประทานอาหารที่ซับซ้อนได้มากขึ้นมีตัวชี้วัดง่ายๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ลูกน้อยพร้อมสำหรับอาหารหยาบ และรสชาติแปลกๆ หรือยังะ

หากลูกอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไปก็ถือว่า ผ่าน! ลุยโลด ลองสังเกตความพร้อมของร่างกายดังต่อไปนี้ะ

  • ลูกสามารถเปลี่ยนท่าจากนั่งป็นลุกขึ้นยืนได้
  • ลูกเริ่มเกาะยืนได้
  • ลูกใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับอาหารเข้าปาก
  • ลูกมีความสามารถในการเคี้ยวบดอาหารในปากได้ดีขึ้น
  • ลูกมีความสุขกับการได้ทดลองอาหารรสชาติใหม่ๆ

ข้อพึงระวังสำหรับการป้อนอาหารลูกน้อยะ

แม้ว่าในระยะนี้เด็กจะยังไม่เริ่มพูดจาสื่อสาร แต่อาจมีท่าทางบางอย่างที่จะบอกคุณพ่อคุณแม่ได้ ข้อพึงระวังต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตสัญญาณความพร้อมจากลูก และเริ่มมองหาวิธีการเปลี่ยนผ่านเมนูลูกรักจากอาหารเหลวเป็นอาหารจานใหม่ๆ ให้การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากนักค่ะะเริ่มจากอาหารชิ้นเล็กๆ อย่าลืมนะคะว่า อย่าเริ่มอาหารเสริมชนิดใดเลยเป็นอันขาดก่อนลูกน้อยจะอายุ 6 เดือน นอกจากจะได้รับไฟเขียวจากนักโภชนาการ หรือแพทย์ผู้ดูแลเด็กๆ อยู่ในบางกรณีเท่านั้นค่ะะเคล็ดลับ ป้อนอาหารเบบี๋ให้ราบรื่น
  • ก่อนอื่นต้องแน่ใจก่อนนะคะว่าเบบี๋ของเราหิวจริงจัง แต่ก็ไม่ได้หิวถึงกับโหย ต้องเลือกช่วงเวลาที่เราไม่เหนื่อย และไม่เครียดมาก งานป้อนอาหารลูกไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นช่วงที่ต้องเผื่อเวลาเอาไว้พอสมควรทีเดียวค่ะ
  • ขำเข้าไว้ สนุกเข้าว่า แน่นอนค่ะในช่วงแรกๆ ของการป้อนอาหารเสริมให้กับลูก หลายอย่างคงจะไม่เป็นดั่งใจ แถมยังดูเกะกะรกเลอะเทอะไปหมด แต่ช่วงเวลาป้อนอาหารก็เป็นช่วงเวลาสนุกๆ ได้ เอาล่ะค่ะ! หากแครอทบดจะหกรดทีเชิร์ตตัวเก่งของคุณ ก็หัวเราะเข้าไว้

รู้ได้อย่างไรว่าลูกหิว หรืออิ่มแล้ว

คุณพ่อและคุณแม่ต้องอ่านสัญญาณบอกความหิวของลูกน้อยกันหน่อยละค่ะ ลองสังเกตอาการของลูกรัก แล้วจะค่อยๆ เข้าใจได้เองว่า ลูกกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับสภาวะความหิว หรืออิ่มของเขา ถ้าหากเด็กๆ ดูกระตือรือล้นกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า นั่นอาจหมายถึงว่าหนูน้อยน่าจะยังไม่อิ่ม พอเป็นเช่นนั้นก็อย่ารอช้าให้รีบป้อนต่อเลยค่ะ แต่ถ้าหากลูกเม้มปากแน่น หรือไม่ยอมรับประทาน หรือผลักช้อนออกไปไกลๆ หันหนี บางทีอาจร้องไห้ หรือว่าเปลี่ยนไปเล่นซนกับอาหารแทนที่จะดูอยากรับประทาน นั่นก็หมายความว่า ช่วงเวลาอาหารน่าจะหมดลงแล้วค่ะ หยุดป้อนอาหารลูกถ้าหากเด็กน้อยมีท่าทีปฏิเสธ หรือไม่ยอมอ้าปากงับช้อน หรือร้องไห้ นะคะ

ส่วนผสมใหม่ๆ ในอาหารของลูกรัก

เราควรรอสัก 2-3 วันระหว่างที่เริ่มอาหารชนิดใหม่ๆ ในเมนูลูกรัก การเฝ้ารอนั้นก็เพื่อจะทำให้เราได้มีโอกาสสังเกตปฏิกิริยาของร่างกายเด็กๆที่จะตอบสนองกับอาหารใหม่ๆ เหล่านั้น และสังเกตอาการแพ้ไปด้วยค่ะอาหารของเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องมากไปด้วยรสชาติ และเครื่องปรุงนะคะ เกลือ และน้ำตาลไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเมนูลูกรักนะคะ

วิธีป้อนอาหารลูก

  • เลือกใช้ชามขนาดเล็ก การป้อนอาหารสำเร็จรูปจากภาชนะอย่างขวดเล็กๆ ที่ทานไม่หมดแล้วปิดฝามาทานใหม่มื้อหน้า อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้ำลายที่ติดปลายช้อนอาจทำให้อาหารขวดเหล่านี้เสียได้ด้วย
  • อย่าให้ลูกรับประทานอาหารแล้วนอนทันที เพราะอาจส่งผลต่อการฟอร์มรูปร่างของฟันน้ำนมที่จะตามมาในอนาคตได้
  • คนอาหาร และทดสอบความร้อนเย็นของอาหารก่อนป้อนลูกรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่เพิ่งจะออกมาจากไมโครเวฟ ต้องให้แน่ใจว่าเมนูลูกรักนั้นมีอุณหภูมิกำลังพอดี ไม่ร้อนจนเกินไป
  • อย่าป้อนอาหาร หรือธัญพืชโดยใช้ขวดนมเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาหารที่เป็นชิ้นๆ เหล่านั้นติดคอ และลูกอาจจะอาเจียน หรือสำลักตามมาได้
  • ห้ามให้ลูกนอนขณะที่ป้อนข้าว หรือเอนตัวเพื่อรับประทานอาหารอาจทำให้เด็กน้อยสำลักได้เช่นกัน
abbottcares.mobile

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

0-2252-244808.30 น. - 17.30น. จันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

Privacy Policy
Terms of Use