หย่านมลูกอย่างไรให้สำเร็จ

การหย่านม เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ยากลำบากสำหรับคนเป็นแม่ และสำหรับลูกน้อย แต่ก็เป็นขั้นตอนที่เป็นธรรมชาติและเต็มไปด้วยอารมณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งหมดเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายๆ บ้านต้องเผชิญค่ะ ช่วงเวลาของการหย่านมแม่ คุณแม่ต้องอยู่ใกล้ๆ ลูกสักหน่อย กอด และเล่นกับลูกอย่างที่เคยเป็น เพื่อทดแทนการดูดนมจากอกแม่ที่กำลังจะยุติลงในไม่ช้า

แน่นอนค่ะว่า การให้นมแม่เป็นเวลายาวนานที่สุดนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของลูกด้วย เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นอย่างยอดเยี่ยม แต่เมื่อมาถึงวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องมีวันที่เด็กน้อยต้องหย่านม อย่าลืมนะคะว่า ไม่มีแรงกดดันอะไรที่กำหนดว่า ในอายุเท่านั้นเท่านี้ การให้นมแม่จะต้องจบ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และตัวคุณแม่เองว่าต้องการให้นมลูกน้อยไปจนถึงอายุเท่าไหร่ ซึ่งหากถึงเวลานั้นจริง เรามีเคล็ดลับบางอย่างที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ

ทั้งนี้ ขอให้ทั้งคุณแม่ และลูกน้อยค่อยๆ ปรับพฤติกรรมทีละเล็กละน้อย เพื่อให้ทั้งร่างกาย และอารมณ์ปรับตามแบบไม่สะดุด และคิดเสียว่า การเลิกนมแม่เป็นไปเพื่อก้าวที่เติบโตขึ้นของลูกค่ะ

  • เริ่มต้นจากการลดนมแม่แล้วทดแทนด้วยนมผสม วันละ 1 มื้อ และรอประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มมื้อทดแทนต่อไป
  • ในการให้นมแม่ ให้กินเต้าที่ลูกดูดก่อนหน้านี้
  • ในช่วงหย่านม หากคุณแม่มีอาการตึง คัดหน้าอก เจ็บ และรู้สึกไม่สบายตัว รวมทั้งมีน้ำนมไหลออกมา ให้บีบนมออกเล็กน้อย และประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการเจ็บ
  • ยาบางชนิดสามารถรับประทานได้ เพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก อย่างเช่นยากลุ่มแก้ปวด acetaminophen หรือ ibuprofen

หมั่นตรวจสอบบริเวณเต้านมเมื่อลูกเลิกดื่มนมจากอกแม่แล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่จะไม่มีอาการท่อน้ำนมอุดตัน จะต้องไม่มีก้อนแข็ง และเต้านมจะต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม ถ้าหากเกิดอาการเจ็บคัดเต้านมมาก ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวนะคะ อาการเบื้องต้นสามารถหายเองได้จากการดูแลที่บ้าน ด้วยการนวดเต้านมจนคลายตัวลง แต่ถ้าหากเจ็บมาก ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษา

สำหรับลูกน้อย ถ้าหากลูกยังไม่เคยลองขวดนม หรือยังไม่เคยรับประทานนมผงมาก่อน คุณแม่อาจเจอด่านการเรียนรู้ที่ต้องผ่านไปถึง 2 ด่านในคราวเดียว ก่อนอื่น คุณแม่อาจให้ลูกเริ่มหัดขวดนมจากการดื่มนมแม่ในขวดอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ เพื่อทำความคุ้นชินกับจุกนม และวิธีการดูด หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มนมผสมสลับไป เด็กๆ อาจไม่คุ้นเคยและปฏิเสธบ้างในช่วงแรก แต่สักพักพวกเขาจะปรับตัวได้ และด่านยากๆ นี้ก็จะคลี่คลายความตึงเครียดลงได้ค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง

Canadian Paediatric Society. Caring for Kids — Weaning your child from breastfeeding. 2013.

abbottcares.mobile

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

0-2252-244808.30 น. - 17.30น. จันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

Privacy Policy
Terms of Use