เสริมโภชนาการลูกน้อย

ถ้าหากคุณพ่อ หรือคุณแม่มีความจำเป็นในการใช้นมผสมและกำลังพิจารณาการให้นมผสมเพื่อเสริม หรือทดแทนการให้นมแม่ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ค่ะ มาดูกันว่า การเปลี่ยนเป็นนมผสมนั้น มีอุปสรรคอะไรกับลูกน้อยบ้าง

  1. ปฏิเสธการดูดขวด เมื่อเริ่มนมผสมในช่วงแรกๆ ลูกน้อยอาจปฏิเสธการดูดขวด และคุณพ่อคุณแม่เองก็ไม่ต้องการให้ลูกเกิดความสับสนระหว่างหัวนมจากเต้า กับ หัวนมจากจุกนมขวด แน่นอนว่า ลูกสัมผัสได้กับความอบอุ่นและกลิ่นหอมๆ จากตัวคุณแม่ยามอุ้มเข้าเต้า และลูกต้องสับสนแน่นอน ถ้าหากคุณแม่เป็นคนแรกที่ป้อนลูกด้วยขวดนม ในกรณีนี้คุณพ่ออาจเป็นผู้ช่วยหมายเลขหนึ่งได้นะคะ โดยให้คุณพ่อสลับคิวเป็นผู้ป้อนนมผสมจากขวดแทนคุณแม่ และในช่วงป้อน คุณแม่ก็ออกนอกห้องไปทำอย่างอื่นก่อน เพราะถ้าลูกยังสังเกตเห็นคุณแม่อยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะร้องหาและไม่ยอมดูดนมจากขวดค่ะ
  2. ขวดนมจะทำให้ลูกดูดนมได้เร็วขึ้นกว่าการดูดจากเต้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติตามหลักฟิสิกส์ค่ะ ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกเริ่มดูดจากขวด คุณแม่อาจเซอร์ไพรส์ว่าลูกดูดนมได้เร็วขึ้นมาก นั่นเป็นเพราะจุกนม และแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้น้ำนมจากขวดพุ่งออกได้เร็วกว่าการดูดนมจากเต้าแม่ ซึ่งต้องใช้พลังมากกว่า ถ้าหากคุณแม่เห็นลูกดูดนมหมดขวดเร็ว ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกกำลังหิวโซเสมอไป และทุกครั้งหลังจากดื่มนมเสร็จ อย่าลืมจับลูกน้อยเรอ เพื่อลดลมในช่องท้องที่อาจเกิดจากการดูดนมอย่างรวดเร็ว อย่าลืมพาดผ้าอ้อมไว้บนบ่า เกิดลูกเกิดอาการแหวะนมด้วยค่ะ
  3. ลูกน้อยจะอิ่มนาน และอิ่มเร็ว อันนี้เป็นเรื่องจริงของการดื่มนมผสม คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้เองว่า ความถี่ในการป้อนนมให้กับลูกนั้นลดลงกว่าการให้ลูกดูดนมจากเต้า แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณพ่อและคุณแม่หมั่นสังเกตหนูน้อยของเรา และอย่าให้พวกเขาต้องรอนานจนเกินไปเมื่อหิวนะคะ เพราะนั่นอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพ รวมถึงอารมณ์ของลูกด้วย
  4. ลูกดูอวบอิ่มขึ้น และมีกลิ่นใหม่ๆ ติดตัว จากการเปลี่ยนมาดื่มนมผสม คุณพ่อและคุณแม่สามารถสังเกตได้จากผ้าอ้อมของลูก เมื่อลูกดื่มนมแม่ ของที่ขับถ่ายออกมาจะแตกต่างจากการดื่มนมผสมด้วยสูตรของนมที่แตกต่างกัน ลูกอาจจะถ่ายน้อยลง แต่มีกลิ่นแรงขึ้น และอุจจาระอาจจับตัวเป็นก้อนมากกว่าเมื่อครั้งดูดนมแม่ แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่ลูกเกิดภาวะถ่ายแข็ง ท้องผูก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพิจารณาปรับนมสูตรใหม่ ที่มีส่วนผสมของ กาแลคโตโอลิโอซัคคาไรด์ ซึ่งมีส่วนประกอบของกากใย อย่าลืมปรึกษานักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใกล้ตัวหากมีข้อสงสัยนะคะ

แล้วจะทำอย่างไรกับนมแม่ดีล่ะ? เมื่อลูกน้อยเริ่มคุ้นเคยกับการดูดขวด เด็กบางคนอาจจะเมินนมแม่ไปเลย คุณแม่ก็อย่าคิดมากนะคะ บางครั้งอาจเป็นเพราะนมขวดทำให้ลูกดูดง่าย และก็อิ่มเร็วขึ้นเท่านั้นเอง การดูดนมจากเต้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลิกไปถาวร คุณแม่อาจให้ลูกดูดนมได้ช่วงเวลาก่อนนอน และถ้าหากระหว่างนั้น นมแม่ค่อยๆ แห้งไปเอง การใช้เครื่องปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้น้ำนมกลับคืนมาได้

abbottcares.mobile

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

0-2252-244808.30 น. - 17.30น. จันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

Privacy Policy
Terms of Use