ลูกน้อยร้องโยเย

โคลิคเป็นอาการอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่วิตกกังวลในขณะที่สาเหตุของการเกิดโคลิคยังคงไม่เป็นที่สรุปได้แน่ชัดนัก แต่หากลูกน้อยเริ่มมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นโคลิค ก็เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องหาทางรักษาและแก้ไขกัน แต่ก่อนอื่นต้องละวางความวิตกกังวลลงก่อน แล้วมาดูกันค่ะว่าเราจะช่วยเหลือทารกน้อยกันได้อย่างไร

การร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโคลิคเสมอไป

เด็กๆ ร้องไห้อาจมาจากหลากหลายสาเหตุ แม้ว่าประสาทสั่งการเรื่องการร้องไห้จะมาจากที่เดียวกัน แต่พึงระวังไว้สักนิดค่ะ เพราะการร้องไห้นั้นอาจบ่งบอกความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หรือมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับลูกน้อย และไม่ใช่ทุกครั้งที่เด็กๆ จะรู้สึกไม่สบายตัวอย่างรุนแรง ก่อนอื่นคงต้องสำรวจสภาพรอบๆ ตัวลูกน้อยก่อน ว่าอากาศหนาวไปไหม ร้อนไปหรือเปล่า หรือว่าเด็กน้อยกำลังหิว หรือรู้สึกอ่อนเพลีย แม้กระทั่งผ้าอ้อมที่เปียกชื้นก็เป็นสาเหตุให้ลูกน้อยร้องโยเยได้เหมือนกัน จากนั้นก็ค่อยๆ แก้ไขความไม่สบายตัวของหนูน้อย ที่สำคัญต้องคอยจดจำค่ะว่า รูปแบบการร้องแบบไหนที่เราต้องรีบเร่งให้ความช่วยเหลือ ขอให้เชื่อในสัญชาตญาณความเป็นคุณพ่อคุณแม่ของเราเวลาได้ยินลูกร้องค่ะ หรือรีบโทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ถ้าหากมีกรณีสุดวิสัยเกิดขึ้นนะคะ

วิธีแก้ลูกรักร้องไห้

ปลอบลูก อุ้ม หรือโอบกอดคือวิธีที่ใช้กันด้วยสัญชาตญาณจริงๆค่ะ เพราะนั่นคือการแสดงออกถึงการให้ความรัก และให้ความอบอุ่น แต่ในบางครั้งหากลูกมีอาการเจ็บปวดทางกายภาพร่วมด้วย การกอดอย่างเดียวอาจจะไม่ทำให้เด็กน้อยหยุดร้องไห้ได้ ให้ลองวิธีเหล่านี้ดูค่ะ ·จับลูกกระโดดขึ้นลงเบาๆ ไปมา หรือพาไปเดิน หรือไม่ก็พาไปนั่งรถเล่นสักพัก ·ใช้เสียงดนตรีสร้างสรรค์ จังหวะเบาๆ มาช่วยทำให้ลูกสงบลง นักจิตวิทยาบางคนบอกว่า เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงฝนตก หรือเสียงเครื่องอบผ้าและพัดลม ช่วยลูกได้จริงๆ เสียงเหล่านี้เราเรียกว่า White Noise เป็นจังหวะ หรือเสียงที่ลูกน้อยคุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ และนั่นจะช่วยให้เด็กน้อยมีอาการสงบนิ่ง หยุดร้องไห้ได้เร็วขึ้นค่ะ

ร้องไห้แบบไหนจึงเรียกว่า โคลิค

ถ้าหากสุขภาพของลูกแข็งแรง เด็กๆ เติบโตและมีพัฒนาการที่ดี แต่เกิดร้องไห้หนักๆ เป็นเวลาร่วมชั่วโมง และก็มักจะร้องเวลาเดียวกันซ้ำๆ ทุกวัน และถ้าหากเด็กน้อยร้องไห้จนหน้าแดง มีอาการเกร็ง และยกขาถีบไปมาขึ้นในระดับท้อง โดยที่คุณพ่อหรือคุณแม่ไม่อาจสงบอาการของลูกได้ การร้องไห้ลักษณะเช่นนี้อาจบ่งบอกถึงอาการโคลิค ซึ่งมีเช็คลิสต์คร่าวๆ ดังนี้ค่ะ

  • ร้องตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน
  • ร้องอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
  • ร้องไห้แบบนี้เป็นสัปดาห์ ยังไม่มีวี่แววว่าจะหาย

โคลิค เป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยอาจกินระยะเวลายาวนานถึง 2-3 สัปดาห์และจะค่อยๆ ลดอาการลงแล้วหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3-4 เดือน ต้องบอกคุณพ่อคุณแม่ให้พยายามอดทนและก้าวผ่านช่วงเวลายากๆ นี้ไปให้จงได้ค่ะ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ รวมทั้งกุมารแพทย์จะเป็นคู่คิดที่ดีที่สุด หากเกิดปัญหาสงสัยเรื่องการร้องแบบโคลิคในเด็กเล็ก

ป้อนอาหารเด็กน้อยโคลิคอย่างไรดี?

คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องถึงกับเปลี่ยน อาหาร หรือนมของลูกเพราะอาการโคลิคนะคะ อย่างเช่น นมก็ยังคงสามารถให้นมผงสูตรเดิมกับลูกได้ต่อไป เพราะในบางครั้ง อาการโคลิคอาจมีผลมาจากการแพ้โปรตีนในนมวัว ซึ่งในกรณีนี้ กุมารแพทย์อาจแนะนำนมสูตรที่มีการสกัดโปรตีนย่อยยากออกไป

และพึงระมัดระวังค่ะว่า ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้เผยแพร่เพื่อชักจูงให้คุณพ่อและคุณแม่ต้องรีบเปลี่ยนแปลงโภชนาการของลูก อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการทุกครั้งก่อนเปลี่ยนอาหารให้ลูกน้อย

ข้อมูลอ้างอิง

  • Jakobsson I et al. Acta Pædiatr 2000;89:18-21.
  • Data on file. Study AC84. Abbott Nutrition, Colombus, Ohio. 2004.z

โปรดทราบว่า ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีความจงใจที่จะทดแทนคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดังนั้นหากมีเหตุใดๆควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนจะปรับเปลี่ยนสูตรอาหารของลูก

เตรียมพร้อมยกมือขอความช่วยเหลือ

คุณพ่อคุณแม่ต้องการผู้สนับสนุนรายการมากมายเลยค่ะ หากลูกน้อยเกิดร้องโคลิคขึ้นมาหลายครั้งหลายคราว เตรียมปั้นผู้ช่วยข้างกาย อย่างคุณพ่อคนเก่ง หรือจะเป็นคุณย่า คุณยายที่จะมาช่วยรับมือได้ในบางครั้ง และทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เหนื่อยจนเกินไปนัก และเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าเราเริ่มจะอดทนไม่ได้กับเสียงร้องจ้าของลูก ค่อยๆ ทำให้เด็กน้อยสงบแล้วจับลงเปลของพวกเขา หรือไม่ก็สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วเดินไปทางอื่นเพื่อให้ใจเราสงบนิ่ง สำคัญที่สุด อย่าลืมพักผ่อนกันบ้างนะคะ

abbottcares.mobile

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

0-2252-244808.30 น. - 17.30น. จันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

Privacy Policy
Terms of Use