ลูกน้อยแหวะนม

ทารกน้อยมีพุงเล็กนิดเดียว เมื่อแรกเกิด ขนาดของกระเพาะอาหารเด็กนั้นมีขนาดเท่าผลเชอรี่เล็กๆ เท่านั้น และหลังจากอายุได้ 3 วัน มันจะขยายใหญ่ขึ้นเท่ากับผลวอลนัท เรากำลังจะบอกค่ะว่า กระเพาะอาหารของเด็กบรรจุอาหารได้ไม่มากนัก อันที่จริงแล้วสภาวะเช่นนี้จะยังคงอยู่จนกระทั่งเด็กน้อยของเราอายุได้ 4 เดือน ซึ่งช่วงนั้นเด็กๆ จะสามารถรับประทานนมได้มากขึ้น และนั่นทำให้เราต้องให้ลูกดูดนมบ่อยเสียหน่อยในช่วงหลังแรกเกิด

การป้อนนมที่มากจนเกินไปอาจทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนม หรือเกิดการไม่สบายเนื้อสบายตัวได้ เพราะจุกนั่นเองค่ะ การแหวะนมอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ดื่มนมเข้าไปมากๆ หรือการที่มีอากาศปนเปเข้าไปในระหว่างการดูดนมของลูก

อันที่จริงแล้ว เด็กๆ แหวะนม ดูจะไม่เป็นเรื่องแปลกสักเท่าไหร่ อาการแหวะนมไม่ได้นำมาซึ่งความเจ็บปวด และเด็กน้อยมักจะไม่รู้สึกอะไรเมื่อแหวะนมออกมา และถ้าหากสุขภาพของลูกยังคงแข็งแรง น้ำหนักยังเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ ก็ไม่มีอะไรต้องน่ากังวลเลยค่ะ การแหวะนมก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ และการเติบโตของเด็กเท่านั้นเอง

พ่อแม่หลายคนกังวลเรื่องการแหวะนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกน้อยของคุณแหวะนมลงบนชุดสุดโปรด แต่จำนวนของนมที่แหวะออกมานั้นอาจจะไม่มากเท่าที่เราคาดคะเน โดยปกติแล้วก็จะมีปริมาณแค่เท่ากับช้อนโต๊ะเล็กๆ เท่านั้น แต่ถ้าหากแหวะนมในปริมาณมาก หรือมีอาการหายใจติดขัดลำบาก รวมทั้งมีอาการไอรุนแรงร่วมด้วย รีบปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ หรือรับคำแนะนำที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

กรณีให้นมผสม โดยอาจจะเริ่มจากปริมาณน้อยๆ แต่ป้อนหลายๆ ครั้งต่อวัน และอย่าลืมว่าให้ลูกนอนเหยียดหลังตรงทุกครั้งที่ป้อนนมจะช่วยบรรเทาอาการแหวะนมได้

นอกจากนั้น คุณพ่อและคุณแม่อาจจะลองเปลี่ยนขวดนม หรือเปลี่ยนจุกนมใหม่ และพยายามจับเจ้าตัวน้อยของเราเรอ ทุกๆ 5-10 นาทีระหว่างที่กำลังให้นม และหลังจากที่เด็กๆ ดูดนมเสร็จแล้วก็ให้จับพวกเขาในท่าตั้งตรงก่อน การรับประทานอะไรอิ่มๆ แล้วนอนราบทันทีทำให้เกิดอาการแหวะนมได้ง่ายค่ะ เช่นเดียวกัน กิจกรรมหนักๆ หลังจากการรับประทานก็เป็นเรื่องที่ควรงดด้วยค่ะ

แหวะนมต่างจากอาเจียน หรือไม่?

ถ้าหากเด็กน้อยเกิดอาการแหวะนมบ่อยจนไม่สบายตัว หรือแหวะนมมากผิดปกติ เช่นนั้นอาจจะเป็นการอาเจียนมากกว่า และบางครั้งการอาเจียนบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินอาหารเสมอไป และการที่เด็กๆ อาเจียนเป็นครั้งเป็นคราวก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องผิดปกติที่ทำให้ต้องวิตกกังวลเช่นกัน หากลูกน้อยมีอาการทั้งแหวะนม หรืออาเจียนบ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตอาการ จดบันทึกไว้และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใกล้ตัวท่านนะคะ

  • ปริมาณ และความรุนแรงในการอาเจียน หรือแหวะนมแต่ละครั้ง
  • สาเหตุของการอาเจียน หรืออาการหายใจลำบาก การไอแรงๆ
  • อาการอื่นๆที่จะตามมา เช่น ความไม่สบายเนื้อตัว น้ำหนักลด หรือน้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  • อาการประกอบอื่นๆ เช่น มีไข้ ท้องเสีย มีมูกเลือดปะปนออกมากับอาเจียน
  • สีของนมที่แหวะออกมามีสีเหลือง หรือเขียว
  • อาการอาเจียนพุ่งออกมาด้วยความแรง

เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กอาจเกิดอาการขาดน้ำ และอ่อนแรงได้ รีบปรึกษาแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทันทีถ้าหากลูกเริ่มมีอาการโหย และขาดน้ำ การให้ของเหลวเพื่อทดแทนน้ำในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้งจะช่วยบรรเทาอาการได้ในขณะที่ลูกยังป่วยอยู่ บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานผงเกลือแร่เพื่อทดแทนการขาดน้ำได้ อย่าลืมนะคะว่าคำแนะนำข้างต้นทั้งหมดนั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อชี้แนะให้คุณพ่อคุณแม่ปรับเปลี่ยนโภชนาการของเด็กๆ ดังนั้น ท่านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ประจำตัวก่อนทุกครั้ง และท่านเหล่านั้นเองจะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ ค่ะ

abbottcares.mobile

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

0-2252-244808.30 น. - 17.30น. จันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ

แนะนำ ปรึกษาโภชนาการและสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ

Privacy Policy
Terms of Use